รายละเอียด และ รายชื่อ หนังสือพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก (ฉบับสำหรับประชาชน)
ย่อความจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ๔๕ เล่ม
รวมเล่มเดียวจบ ราคามูลนิธิ 500 บาท
(+จัดส่ง เคอรี่ 100 บาท)
สุชีพ ปุญญานุภาพ จัดทำ
(มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์)
พิมพ์จำหน่าย ในราคา เผยแพร่พระพุทธศาสนา
พิมพ์ครั้งที่ ๑๗ พ.ศ. ๒๕๕๐ จำนวน ๕๐,๐๐๐ เล่ม
ขนาด : 19x26CM
จำนวน : 820 หน้า
วัสดุ : กระดาษถนอมสายตา สีครีม ปั๊มทอง (ปกแข็ง สันโค้งเย็บกี่อย่างดี)
สามารถ โทรสอบถามรายละเอียด และการจัดส่งเพิ่มเติมได้ที่
ราคา 600 บาท
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
ดำเนินการจัดส่ง โดย
"ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกและหนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์"
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
ช่องทางติดต่อ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม / สั่งซื้อ / ส่งสลิปการโอนเงิน
สามารถสั่งซื้อ โดยตรง ที่ LINE@ ได้โดยตรงที่
LINE : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์เพิ่มเติม
สามารถโทร.สอบถามรายละเอียดอื่นๆได้ที่
086-461-8505, 02-482-7358, 087-696-7771
ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่
เรื่องลายละเอียดผลิตภัณฑ์ สิบถามสินค้าอื่นๆ สอบถามข้อสงสัย
รวมถึง เรื่อง การจัดส่ง ไปยังสถานที่ต่างๆทั่วประเทศ
โดยปกติ ที่ศูนย์สามารถดำเนินการจัดส่ง ไปถึงวัด
หรือสถานปฏิบัติธรรม และบ้านพักอาศัย ตามที่ลูกค้าต้องการ
--- --- --- --- --- --- ---
ท่านสามารถมาชม ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ด้วยตนเอง
ที่สถานที่ตั้ง ของศูนย์ ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น
ศูนย์หนังสือไตรลักษณ์ ตั้งอยู่ ที่
พุทธมณฑล สาย 4 ฝั่งเดียวกันกับ พุทธมณฑลองค์พระยืน
ติดกับกำแพง วัดญาณเวศกวัน
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีสถานที่จอดรถกว้าง มีร้านกาแฟ
ขนมว่าง
แผนที่สำหรับเดินทาง Google maps
https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2
............................................................................
อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา?
๑. ลาภสักการะ ชื่อเสียง เปรียบเหมือนกิ่งไม้ใบไม้
๒.ความสมบูรณ์ด้วยศีล เปรียบเหมือนสะเก็ดไม้
๓.ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ เปรียบเหมือนเปลือกไม้
๔. ญาณทัสสนะ หรือ ปัญญา เปรียบเหมือน กะพี้ไม้
๕. ความหลุดพ้น แห่งใจอันไม่กลับกำเริบ ซึ่ง ใช้คำบาภาษาบาลี
"อกุปฺปา เจโตวิมุตตฺติ" เปรียบเหมือน แก่นไม้
อ้างอิงค์จาก พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน หน้าที่ ๕๐ (มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์)
............................................................................
เนื้อหาโดยย่อ
พระไตรปิฎก หมายถึง คัมภีร์ หรือตำราที่บรรจุคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า (และของพระสาวก
สำคัญบางรูป) รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ ดุจเดียวกับตะกร้าอันเป็นภาชนะสำหรับใส่รวมของต่างๆ
ไว้ด้วยกัน
พระไตรปิฎก มีทั้งหมด ๓ หมวด คือ
๑. พระวินัยปิฎก
๒. พระสุตตันตปิฎก
๓. พระอภิธรรมปิฎก
............................................................................
คำนำในกาจัดพิมพ์รวมเป็นเล่มเดียวจบครั้งแรก พุทธศักราช 2522
............................................................................
การจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน ซึ่งเดิมมี 5 เล่ม ให้รวมเป็นเล่มเดียวจบ ครั้งนี้
ในด้านทุนทรัพย์ ท่านผู้หนึ่ง ผู้สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประกอบอาชีพ
อิสระส่วนตว แต่ไม่ประสค์ออกนาม เป็นผู้บริจาค เพื่อพิมพ์แจกเปนการกุศล
พร้อมทั้งได้มีส่วนในการช่วยตรวจใบพิสูจน์ และช่วยขยายสารบาญเรื่อ
สารบาญค้นคำ ให้พิสดารกว่าเดิม อันนับเป็นกุศลเจตนาอย่างสูง
ที่มุ่งจะให้มีการแจกจ่ายพระไตรปิฎก แบบย่อความ ให้แพร่หลายไปตามห้องสมุด
และสถาบันต่างๆ เท่าที่จะแจกจ่ายไปได้ การเสียสละของท่านที่กล่าวมาแล้ว จึงมิใช่เพียงการเงิน
แต่รวมถึง กำลังกาย กำลังความคิด และการออกแบบปก ออกแบบแผนผังหรือแผนภูมิ เพื่อให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น
นอกจากนั้นท่านผู้จัดการโรงพิมพ์กรุงเทพการพิมพ์ ก็ยังได้เอื้อเฟื้อร่วมมือในการช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ
ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้เป็นอย่างดี ด้วยมุ่งให้หนังสือนี้สำเร็จเป็นประโยชน์แก่
ท่านผู้อ่านโดยทั่วไป การจัดพิมพ์ด้วยตัวอักษร ขนาดเล็กเพื่อมิให้ใช้หน้ากระดาษมากเกินไปนั้น
เป็นภาระมาก แต่ท่านก็มิได้เห็นแต่เพียงด้านการค้า และความสะดวกของทางโรงพิมพ์เท่านั้น
จึงได้ยอมรับจัดพิมพ์ด้วยมุ่งการกุศลเป็นใหญ่ ง่ยจัดพิมพ์จึงลุล่วงไปด้วยดีจนเป็นเล่มสมบูรณ์
อีกทั้งมีอีกท่านผู้หนึ่งผู้ไม่ประสงค์ออกนามเช่นเดียวกันได้มีส่วนช่วยในด้านธุรนการเกี่ยวกับการพิมพ์
เช่น การรับสิ่งใบพิสูจน์และอื่นๆ อันนับเป็นกุศลเจตนาอย่างสูง
ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสตรวจแก้ต้นฉบับเดิมที่ตกหล่นผิดพลาดได้หลายแห่ง แต่เมื่อ
พิมพ์ไปแล้วได้พบว่า ยังมีที่พิมพ์ผิดพลาดหลงตาไปบ้าง ซึ่งก็ได้บอกแก้คำผิดไว้เท่าที่จะตรวจพบ
หนังสือนี้เริ่มพิมพ์ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2521 ส่วนสำคัญพิมพ์จบภายในปี 2522 มีเพียงสารบาญและ
คำนำเล็กน้อยที่พิมพ์เสร็จในต้นปี 2523 ซึ่งก็ต้องนับว่าเป็นฉบับพิมพ์ 2522
ข้าพเจ้าปรารภความเสียสละ ความร่วมมือ และการช่วยขวนขวายในการจัดพิมพ์หนังสือเรื่องนี้
ของท่านที่กล่ายถึงนั้นๆ จึงตั้งชื่อว่า คณะเทิดทูนธรรม นอกจากนั้นได้การออกแบบปก ท่านผู้บริจาคทรัพย์
ก็พยายามที่จะให้มีลักษณะในทางรักษาสมบัติทางวัฒนธรรมขอไทยไว้ ที่ท่านได้ฟังความคิดเห็นหลายๆ ฝ่ายแล้ว
ดำเนินการบเป็นที่เรียบร้อยดังที่ปรากฏแก่ท่านผู้อ่านอยู่นี้
ข้าพเจ้าขออนุโมทนาและคารวะในการกุศลเจนาอะันสูงส่งนี้ด้วยความจริงใจ ขอให้ท่าน
ผู้บริจาคทรัพย์จัดพิมพื และท่านผุ้ร่วมให้ความช่ยทุกท่าน
จงประสบแต่สิงอันพึงประสงค์ ได้เห็นธรรมและพ้นจากทุกข์ ภัย โรคทั้งปวง
กล่าวโดยประวัติการพิมพ์รวมเล่มเดียวจบในครั้งแรก ใน พุทธศักราช 2522 นี้
นับเป็นการพิมพ์ครั้งที่ 3 ที่พิมพ์จบทั้งชุด แต่ถ้ากล่าวถึงการพิมพ์แยก
เป็น 5 เล่ม เล่มที่ 1 พิมพ์มาแล้ว 4 ครั้ง เล่มที่ 2 ถึง 5 พิมพ์มาแล้ว 2 ครั้ง โปรดอ่านคำนำและคำขี้แจงประจำเล่มที่ 1
ในพุทธศักราช 2501 และ 2515 ที่พิมพ์ถัดจากคำนำนี้ประกอบด้วย
เพื่อจะได้ทราบความมุ่งหมายและวิธีการจัดทำ ตลอดจนความเป็นมาแต่ต้น
ขอกุศลจริยาในการจัดพิมพ์รวมเล่มเป็นครั้งแรกเพื่อแจกเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ทั้งนี้จงเป็นไปเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขแก่มนุษยชาติ โดยไม่เลือก
ชั้น วรรณะ ประเทศ ชาติและศาสนา กับทั้งจงเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์แก่สรรพสัตว์โดยทั่วกัน เทอญ.
สุชีพ ปุญญานุภาพ
............................................................................
คำนำในการพิมพ์รวม เล่ม ครั้ง ที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๒๗
พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน เดิม ย่อจากพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม
เป็นภาษาไทย ๕ เล่ม แล้วรวม ๕ เล่มนั้นพิมพ์ให้เป็นเล่มเดียว
เพื่อมิให้กระจัดกระจาย
ถ้าจะคิดถึงการพิมพ์เมื่อเป็น ๕ เล่มด้วย ก็นับเป็น
การพิมพ์ครั้งที่ ๑๐ ในคราวนี้ แต่ถ้าคิดเฉพาะที่รวมพิมพ์เป็นเล่มเดียวจบ
ก็นับเป็นครั้งที่ ๘ ในการพิมพ์รวมเล่มตั้งแต่ครั้งที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๒๕
เป็นต้นม พิมพ์ครั้งละ ๑๐,๐๐๐ เล่ม
และจำหน่ายหมดภายในเวลาประมาณ ๑ ปี ในแต่ละ
ครั้งแสดงว่า ได้รับความสนใจและสนับสนุนจากท่านพระภิกษุสามเณร และประชาชน
ผู้เห็น ความสำคัญในการศึกษาสาระสำคัญแห่งพระไตรปิฎก
ซึ่งเป็นตำราอันเป็นหลักแห่งพระพุทธศาสนา
บางคราวด้วยความเร่งร้อน เจ้าหน้าที่โรงพิมพ์ได้จัดพิมพ์ไปก่อนโ่ดยไม่ทันได้แก้ไข
ถ้อยคำบางคำที่ข้าพเจ้าขอให้แก้ไข แต่ในคราวนี้
ได้แก้ไขหลายแห่ง และจะพยายามแก้ไข
เพิ่มเติมอีกในการพิมพ์ครั้งต่อๆไป เพื่อให้ถูกต้องสมบูรณ์ ยิ่งขึ้น
ในการจัดพิมพ์ครั้งที่ ๘ นี้ ข้าพเจ้าเจาะจงถวายส่วนกุศลในการจัดทำและ
จัดพิมพ์หนังสือนี้ บูชาพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมเจติยาจารย์
(วงศ์ โอทาตวัณณเถระ) วัดเสนหา
จังหวัดนครปฐม พระอาจารย์ ผู้เป็นที่เคารพบูชาอย่างสูงยิ่งของข้าพเจต้า ข้อที่นับว่า
สำคัญก็คือ
ท่านเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าพเจ้าได้ศึกษาภาษาบาลี จนมีโอกาสบำเพ็ญประโยชน์
แก่พระพุทธศาสนาได้บ้างตามควรแก่อัตภาพและสติปัญญาอันน้อย
การกล่าวถวายส่วนกุศลบูชา พระคุรท่านเจ้าคุรอาจารย์
ในการพิมพ์ครั้งนี้ ก็เพราะในระหว่างการเตรียมจัดพิมพ์ครั้งที่ ๘ นี้ ท่านได้มรณภาพ ล่วงลับไป
ในเช้าวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๒๗ เมื่อมีชนมายุ ๑๐๒
โดยปี หรือคิดเป็นอายุชะรำก็ ๑๐๑ ปี ๕ เดือน กับ ๑๑ วัน
ประโยชน์ใดแม้เพียงนิดน้อยที่ท่านสาธุชนได้รับจากหนังสือนี้ ข้าพเจ้า
ขออุทิศส่วนกุศล
จากประโยชน์นั้น เป็ฯสักการะบรรณาการบูชา
ท่านเจ้าคุณอาจารย์ผู้มีพระคุรของข้าพเจ้า ผู้ซึ่งชาวนครปฐม
เรียกกันติดปากว่า หลวงปู่
อนึ่งข้าพเจ้า ขอถือโอกาสนี้ขอบพรนะคุณ
ท่านผู้ริเริ่มรวมพิมพ์เป็นเล่มเดียวจบจากเดิม ๕ เล่ม
แจกเกป็นพุทธบูชาครั้งแรกจำนวน ๑,๑๐๐ เล่ม คือ
คุณอัมพร สุขะนินทร์ และขอบพระคุณ คุณส.อาจารีย์ ผู้รับอาสาในการติดต่อ
รับส่วนใบพิสูจน์อักษรในระหว่างการจัดพิมพ์เป็นเวลาหลายเดือน
รวมทั้งขอบพระคุณคุณเผด็จ จิระสานต์ แห่งโรงพิมพ์กรุงเทพการพิมพ์
ผู้ช่วยให้การจัดพิมพ์รวมเล่มครั้งแรกลุล่วงไปด้วยดี
ขอกราบขอบพระคุรท่านเจ้าคุณพระธรรมดิลก (วิชมัย ปุญญารามเถระ)
วัดบวรนิเวศวิหาร กรรมการมหามกุฎราชวิทยาลับ
และกรรมการมหาเถรสมาคม ผู้ส่งเสริมให้มหามกุฏราชวิทยาลัย
จัดพิมพ์จัดหน่ายหนังสือนี้ ซึ่งในชั้นแรก
มหามกุฏราชวิทยาลัยยอมจำหน่ายในราคาต่ำกว่าทุน
หรือกล่วอีกอย่างหนึ่งก็คือ ยอมขายขาดทุนเล่มละประมาณ ๒๐
ถึง๓๐ บาท แต่ได้กำไรในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในการพิมพ์ครั้งต่อมา จึงมีกำไรเพิ่มขึ้นบ้าง
ทั้งในด้านการขายและการเผยแผ่
่นอกจากนั้นขอขอบพระคุณทุกท่านผู้มีจดหมายเสนอแนะในหลายเรื่องด้วยกัน
ด้วยความปรารถนาดี ที่จะเห็หนังสือนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ข้าพเจ้าขอประทานอภัยที่ได้เปิดเผยนามของท่านผู้ริเริ่มหลายท่าน
ผู้ปิดทองหลับพระตลอดมา ในการจัดพิมพ์หนังสือนี้
โดยมิได้ขออนุญาตท่านเจ้าของนามก่อน
การพิมพ์ครั้งที่ ๘ นี้ เริ่มมาแต่ประมาณ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๒๗
เพิ่งเสร็จในเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ จึงถือว่าเป็นการพิมพ์ใน พ.ศ.๒๕๒๗
สุชีพ ปุญญานุภาพ
............................................................................
สารบาญ (โดยหัวข้อใหญ่)
ภาค ๑ ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก
ภาค ๒ ว่าด้วยเรื่องเอกสารทางประวัติศาสตร์
๑.เอกสารเกี่ยวกับการชำระและการจารึกพระไตรปิฎกในรัชกาลที่ ๑
คำประกาศเทวดาครั้งสังคายนารัชกาลที่ ๑
๒.เอกสารเกี่ยวกับการชำระและการพิมพ์พระไตรปิฎกในรัชกาลที่ ๕
การสาสนูปถัมภกคือการพิมพ์พระไตรปิฎก
ประกาศสังคายนาย
พระราชดำรัสแก่พระสงฆ์โดยพระองค์
๓.รายงานการสร้างพระไตรปิฎก (รัชกาลที่ ๗)
ภาค ๓ ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก
พระพุทธเจ้าประทานอนุญาตภิกษุณีบรรพชาโดยมีเงื่อนไข
ผู้ใดจะพยาบาลเราก็พึงพยาบาลภิกษุไข้เถิด
อาสวะที่พึงละได้ด้วยภาวนา (การอบรม)
ภาค ๔ ความย่อแห่งพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๑ ชื่อมหาวิภังค์
เล่มที่ ๒ ชื่อมหาวิภังค์
เล่มที่ ๓ ชื่อภิกขุนีวิภังค์
เล่มที่ ๔ ชื่อมหาวรรค
เล่มที่ ๕ ชื่อมหาวัคค์
เล่มที่ ๖ ชื่อจุลลวัคค์ (วรรคเล็ก)
เล่มที่ ๗ ชื่อจุลลวัคค์
เล่มที่ ๘ ชื่อปริวาร
สุตตันตปิฎก
เล่มที่ ๙ ชื่อทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์
เล่มที่ ๑๐ ชื่อทีฆนิกาย มหาวัคค์
เล่มที่ ๑๑ ชื่อทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์
เล่มที่ ๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
เล่มที่ ๑๓ ชื่อมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
เล่มที่ ๑๔ ชื่อมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
เล่มที่ ๑๕ ชื่อสังยุตตนิกาย สคาถวรรค
เล่มที่ ๑๖ ชื่อสังยุตตนิกาย นิทานวรรค
เล่มที่ ๑๗ ชื่อสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
เล่มที่ ๑๘ ชื่อสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
เล่มที่ ๑๙ ชื่อสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
เล่มที่ ๒๐ ชื่ออังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
เล่มที่ ๒๑ ชื่ออังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
เล่มที่ ๒๒ ชื่ออังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
เล่มที่ ๒๓ ชื่ออังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
เล่มที่ ๒๔ ชื่ออังคุตตรนิกาย ทกส-เอกาทสกนิบาต
เล่มที่ ๒๕ ชื่อขุททกนิกาย
เล่มที่ ๒๖ ชื่อขุททกนิกาย-วิมานวัตถุ, เปตวัตถุ, เถรคาถา, เถรีคาถา
เล่มที่ ๒๗ ชื่อขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๑
เล่มที่ ๒๘ ชื่อขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๒
เล่มที่ ๒๙ ชื่อขุททกนิกาย มหานิทเทส
เล่มที่ ๓๐ ชื่อขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
เล่มที่ ๓๑ ชื่อปฏิสัมภิทามรรค (ทางแห่งความแตกฉาน)
เล่มที่ ๓๒ ชื่อขุททกนิกาย อปทาน ภาคที่ ๑
เล่มที่ ๓๓ ชื่อขุททกนิกาย อปทาน ภาคที่ ๒
เล่มที่ ๓๔ ชื่อธัมมสังคณี (รวมกลุ่มธรรมะ)
เล่มที่ ๓๕ ชื่อวิภังค์ (แยกกลุ่มธรรมะ)
เล่มที่ ๓๖ ชื่อธาตุกถา และปุคคลปัญญัตติ
เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
เล่มที่ ๓๘ ชื่อยมก ภาคที่ ๑
เล่มที่ ๓๙ ชื่อยมก ภาคที่ ๒
เล่มที่ ๔๐ ชื่อปัฏฐาน ภาคที่ ๑
เล่มที่ ๔๑ ชื่อปัฏฐาน ภาคที่ ๒
เล่มที่ ๔๒ ชื่อปัฏฐาน ภาคที่ ๓
เล่มที่ ๔๓ ชื่อปัฏฐาน ภาคที่ ๔
เล่มที่ ๔๔ ชื่อปัฏฐาน ภาคที่ ๕
เล่มที่ ๔๕ ชื่อปัฏฐาน ภาคที่ ๖
ภาค ๕ ว่าด้วยบันทึกทางวิชาการ
.............................................................................
ไตรลักษณ์ มีอยู่แล้ว โดยปกติ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะตถาคตเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุ, ความตั้งอยู่แห่งธรรมทำนองแห่งธรรมอันนั้น ก็ตั้งอยู่แล้ว
คือข้อที่ว่า "สังขาร )สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง) ทั้งปวงไม่เที่ยง ; สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ (ทนอยู่ไม่ได้) ; ธรรม (ทั้งสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง และไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง)
ทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ตถาคตตรัสรู้เข้าใจทำนองธรรมนั้น ครั้นตรัสรู้แล้ว เข้าใจชัดแล้ว ก็บอก, แสดง, บัญญัติ, ตั้งไว้, เปิดเผย,แจกแจง, ทำให้ง่ายถึงข้อที่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง; สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์;
ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน."
ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๓๖๘
(คัดลอกจาก พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน หน้าที่ ๙๔)
..............................................................................
ผู้ตกนรก
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ย่อมตกนรกเมื่อถูกนำตัวไปวางไว้
ธรรม ๕ อย่าง คือ :-
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒.เป็นผู้มักลักทรัพย์
๓.เป็นผู้มักประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้ มักพูดปด
๕. เป็นผู้มักตั้งมั่นในความประมาท ด้วยการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำตัวไปวางไว้."
(คัดลอกจาก พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน หน้าที่ ๖๔)
............................................................................
อย่าโกรธ เมื่อใครติเตียนพระพุทธเจ้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! คนเหล่าอื่นอาจกล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์.
ท่านทั้งหลายไม่พึงผูกอาฆาต ขุ่นเคือง ไม่พอใจในบุคคลเหล่านั้น. เพราะถ้าท่านทั้งหลายโกรธเคือง
หรือไม่พอใจในบุคคลที่กล่าวติเตียน ติเตียนพระธรรม หรือ ติเตียนพระสงฆ์นั้น อันตรายเพราะความโกรธเคืองนั้น ก็จะถึงเป็นของท่านทั้งหลายเอง.
ถ้าท่านทั้งหลายโกรธเคือง ไม่หรือพอในในบุคคลที่กล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์ จะรู้ได้ละหรือว่า คำกล่าวของคนเหล่าอื่นนั้น
เป็นคำกล่าวที่ดี (สุภาษิต) หรือไม่ดี (ทุพภาษิต)?
" ไม่ทราบ พระเจ้าข้า."
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายพึงชี้แจง (คลี่คลาย) หรือที่ไม่เป็นจริง ให้เห็นว่าไม่เป็นจริง ในข้อที่คนเหล่าอื่นกล่าวติเตียนเรา
ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์ ให้เขาเห็นว่าข้อนั้นไม่จริง
ข้อนั้นไม่แท้ ข้อนั้นไม่มีในพวกเรา ข้อนั้นไม่ปรากฏในพวกเราดังนี้"
พรหมชาลสูตร ๙/๓
(คัดลอกจาก พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน หน้าที่ ๑๓๔)
............................................................................
พระไตรปิฎก ฉบับสมหรับประชาชน ท่านอาจารย์ สุชีพ
............................................................................
|